สมบัติของคลื่นกล
สมบัติของคลื่นกลมีอยู่ด้วยกันหลักๆ อยู่ 4 อย่าง ได้แก่
1. การสะท้อนของคลื่น
เมื่อหน้าคลื่นมาตกกระทบกับฉากที่มีผิวเรียบ จะทำให้เกิดการสะท้อนออกมาจากฉากดังกล่าว โดยทำมุมเท่ากับมุมที่มาตกกระทบ จะเห็นได้จากรูปดังนี้ มุมที่วัดจากแนวฉากของหน้าคลื่นที่มาตกกระทบจะมีค่าเท่ากับมุมที่วัดจากหน้าคลื่นที่สะท้อนออกมา
-----------------------------------------------------------------------------------------------------
2. การหักเหของคลื่น
1. การสะท้อนของคลื่น
เมื่อหน้าคลื่นมาตกกระทบกับฉากที่มีผิวเรียบ จะทำให้เกิดการสะท้อนออกมาจากฉากดังกล่าว โดยทำมุมเท่ากับมุมที่มาตกกระทบ จะเห็นได้จากรูปดังนี้ มุมที่วัดจากแนวฉากของหน้าคลื่นที่มาตกกระทบจะมีค่าเท่ากับมุมที่วัดจากหน้าคลื่นที่สะท้อนออกมา
-----------------------------------------------------------------------------------------------------
2. การหักเหของคลื่น
เมื่อคลื่นลูกหนึ่งผ่านเข้ามาในตัวกลางหนึ่ง จะทำมุมหนึ่งๆ กับเส้นแบ่งตัวกลาง จนมาถึงเส้นแบ่ง และผ่านเข้าไปในอีกตัวกลางหนึ่ง จะทำมุมอีกค่าหนึ่ง แสดงว่าคลื่นนั้นเกิดการหักเห โดยการหักเหเกิดขึ้นจากตัวกลางสองตัวที่มีความหนาแน่นต่างกัน เมื่อคลื่นลูกหนึ่งผ่านจากตัวกลางที่มีความหนาแน่นหนึ่งไปยังอีกความหนาแน่นหนึ่ง จะทำให้เกิดการหักเห
ซึงคลื่นจะเบนเข้าหาเส้นตั้งฉาก เมื่อตัวกลางที่คลื่นผ่านมีค่าจากน้อยไปมาก
และคลื่นจะเบนออกจากเส้นตั้งฉาก เมื่อตัวกลางที่คลื่นผ่านมีค่าจากมากไปน้อย
-----------------------------------------------------------------------------------------------------
3. การเลี้ยวเบนของคลื่น
เมื่อคลื่นผ่านช่องเล็กๆ หรือสลิตเดี่ยว จะเกิดคลื่นลูกใหม่จากช่องเล็กๆ นั้น และออกมาเป็นหน้าคลื่นวงกลม เราเรียกว่า การเลี้ยวเบนของคลื่น นอกจากนี้เรายังพบการเลี้ยวเบนของคลื่นในชีวิตประจำวัน เช่น เสียงที่เดินทางเลี้ยวมาจากมุมห้อง
-----------------------------------------------------------------------------------------------------
4. การแทรกสอดของคลื่น
เมื่อคลื่นลูกหนึ่งผ่านเข้าทางสลิตคู่ จะเกิดคลื่นลูกใหม่ 2 ลูก ที่มีหน้าคลื่นเป็นวงกลม จากนั้น หน้าคลื่นวงกลมก็จะซ้อนทับกัน ทำให้จุดที่ซ้อนทับกันระหว่างสันคลื่นกับสันคลื่น หรือท้องคลื่นกับท้องคลื่น เรียกว่า ปฏิบัพ (Antinode) และจุดที่สันคลื่นกับท้องคลื่น เรียกว่า บัพ (Node)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น